เรื่องราวของ ขนมเทียน เขียนได้ไม่รู้จบ เขียนไว้ตั้งแต่สมัยเพจเก่า ตอนนี้ช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน เอามาเผยเเพร่อีกครั้ง รวบรวมและเรียบเรียงใหม่ให้ครบถ้วน จากข้อมูลที่ถามตอบกันเพิ่มเติม จะได้เข้ากับความโกลาหลในช่วงนี้ ที่ลูกจีนหลายๆบ้านเริ่มตระเตรียมงานกันบ้างแล้ว ทางบ้านชายเองก็เช่นกัน
เรื่อง ขนมเทียน กับ เทศกาลตรุษจีน สารทจีน นับเป็นของคู่กันมาเนิ่นนาน จะนับเอาว่าเกิดขึ้นมาตอนไหนก็คงไม่ชัดเจน ถ้าให้ชายสันนิษฐาน ก็คงราวๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เห็นจะได้ เพราะช่วงนั้น ไทยกับจีน ก็เริ่มมีสัมพันธ์ทางการค้ากันแล้ว คนจีนทยอยหลั่งไหลเข้ามากันเป็นสาย ตรุษจีนสารทจีน ในไทยก็คงเริ่มคึกคักกันตั้งแต่ตอนนั้นเอง ยามย้ายถิ่นฐานบ้านเกิดมา การนำเอาวัฒนธรรมติดมาด้วยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสิ่งต่างๆรอบตัวด้วย เพราะถ้าเป็นที่จีนแผ่นดินใหญ่ ของมงคลที่จะใช้ไหว้ตามความเชื่อดั้งเดิมก็ไม่ได้หายากอะไร แต่พอมาอยู่เมืองไทย ของบางอย่างที่นี่ก็ไม่มี จะสั่งมาก็แพง ก็ต้องปรับเปลี่ยนกันไป ขนมเทียน เองก็เป็นหนึ่งในการปรับเปลี่ยนครั้งนั้นด้วยเหมือนกัน
เคล็ดของสิ่งต่างๆ ที่จะเอามา ไหว้ตรุษจีนสารทจีน นั้น คนจีนมีหลักอยู่ว่า เรียกแล้วชื่อ เป็นมงคล เปรียบเสมือนคำขอพร หรือ คำอวยพร อย่างชื่อขนมเทียน
” เทียน คือ สิ่งให้แสงสว่าง หมายถึงขอให้ชีวิตเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่นราวกับมีแสงสว่างส่องนำทาง ไม่มืดบอดอับจน อันนี้เป็นความเชื่ออย่างชาวจีนในไทย “


สำหรับ ขนมเทียน นั้น เดิมทีในถิ่นนี้ ก็มีการใช้เป็นขนมในพิธีกรรม และงานอันเป็นมงคลอยู่แล้วเหมือนกัน อย่างการบูชาผีหิ้งของชาวชอง ก็มีการใช้ขนมเทียนในสำรับไหว้ผีหิ้งด้วย ซึ่งผีหิ้งก็คือผีบรรพบุรุษนั่นเอง คล้อยขึ้นไปทางภาคเหนือ ทางนั้นเรียกขนมเทียนว่า ขนมจ๊อก ใช้ในงานเทศกาลสงกรานต์ ทางภาคใต้เอง บางพื้นที่ก็ใช้ ขนมเทียน เป็นขนมมงคล ในงานประเพณีสารทเดือนสิบด้วย จากการวนเวียนของขนมเทียนในทางขนมมงคลของวันสำคัญต่างๆ พอชาวจีน อพยพเข้ามา ก็หยิบเอามาเป็น ขนมมงคล ในธรรมเนียมเขาตามไปด้วย จากนั้นมา ขนมเทียน ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนจีนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย และกลายเป็นขนมประจำเทศกาลตรุษจีนสารทจีน ไปในปัจจุบัน
ชายเคยได้ยินมาว่า เดิมทีขนมเทียนเป็นขนมที่จะใช้สำหรับไหว้ฮอเฮียตี๋หรือผีไม่มีญาติ คล้ายกับเป็นเคล็ดว่าให้มีแสงเทียนนำทางไปสู่ที่ที่ดีขึ้นไม่ต้องเป็นผีเร่ร่อน ชายก็ไม่รู้จริงแท้ประการใด เพราะพยายามหาข้อมูลแล้วแต่ก็ไม่เจอ ถ้าใครมีข้อมูลเพิ่มเติม แวะมาให้ข้อเท็จจริงกันด้วยนะครับ
ส่วนเรื่องที่ว่า ขนมเทียนเหตุใดจึงชื่อนี้ เพราะรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมอย่างกับพีระมิด เอาจริงๆแล้วคนสมัยก่อนก็ไม่ได้รู้หรอกว่าพีระมิดนั้นคืออะไร ไม่เคยมีคำว่าพีระมิดอยู่ในสารบบเสียด้วยซ้ำ แต่คำว่า “เทียน” เรียกตามลักษณะของเนื้อขนมที่มีสีต้ำตาลนวลๆ เป็นเงา คล้ายกับลำเทียน เพราะขนมเทียน ต้องเอาแป้งข้าวเหนียว มานวดกับ น้ำตาลมะพร้าว สีจึงออกน้ำตาล นวลๆ และต้องเคล้าน้ำมันก่อนห่อเพื่อเวลาแกะกินจะได้ไม่ติดใบตองจึงทำให้มีความมันวาวนั่นเอง บางที่ก็เรียก ขนมนมสาว เพราะ ยอดแหลมทรวดทรงตรง ราวกับ นมของสาวรุ่น จนเอามาใช้แซวกัน ตอนห่อขนมว่า ใครห่อสวยยอดแหลมตั้งตรง ผู้นั้นมีนมสวย แต่ถ้าใครห่อแล้วเบี้ยวซ้ายบ่ายขวา ยอดทู่ แสดงว่า คนนั้นนมยาน 555 เรื่องช่างเปรียบเทียบ หรือหากิมมิกมาแซวกันให้สนุกสนาน เกี่ยวกับการทำอาหารมีอยู่ตลอดเวลา

แรกเริ่ม การทำขนมเทียน จะนำแป้งนวดกับน้ำตาลมะพร้าว น้ำและน้ำมันขี้โล้ หรือบางที่ ก็มีการเอากะทิมานวดแทนน้ำ โดยเอาไปเคี่ยวกับน้ำตาลมะพร้าวให้เป็นยางมะตูมอ่อนๆก่อน ไส้เค็มจะมีแต่ถั่วทองนึ่งผัดกับหอมแดง หรือ กระเทียมปรุงรสให้ออกเค็ม ส่วนไส้หวานก็เป็นกระฉีก จากนั้นก็มีการพัฒนาเพิ่มเข้ามา คือเนื้อแป้งนำมานวดผสมกับหญ้า ” ชิวคัก หรือ จิวกั้ก “ โดยเอามาต้ม แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กนวดรวมไปกับแป้งและน้ำตาลมะพร้าว ช่วยให้แป้งเหนียวนุ่มมากขึ้นจากสีน้ำตาล นวลๆคล้ายเทียนขี้ผึ้ง ก็กลายเป็นสีคล้ำตุ่น จากชิวคักที่ใส่ ไส้เค็มก็มีหมูสามชั้นต้มผัดใส่ไปด้วย
ตำหรับขนมเทียนนี้ชายว่าอร่อยมาก ครั้งแรกที่ได้กิน บอกได้คำเดียวว่า ตายไปเลย ชายได้ตำรับนี้มาจาก ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์อาภัสรา กวีวังโส ราว 7-8 ปีที่แล้ว
ส่วนผสมแป้งใช้แป้งข้าวเหนียว 400 กรัม น้ำตาลมะพร้าว 250 กรัม ชิวคักแห้งสัก ½ ถ้วย จะใส่ให้มากหน่อยก็ได้ แต่อย่าหนักมือมากนัก นำมาต้มให้นุ่ม ชิวคักนี้ให้ต้มให้นานหน่อย ใส่น้ำให้พอท่วม ต้มสัก 10-15 นาที ถ้าน้ำจะแห้งก็เติมได้ จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น สงเอาชิวคักมาบีบน้ำออกให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆเหมือนซอยผักชี ใช้น้ำ 1- 1 ½ ถ้วย ชายจะเอาน้ำที่ได้จากการต้มชิวคักนั่นแหละ ถ้าไม่พอถึงจะใช้น้ำเปล่า และน้ำมัน ¼ ถ้วย
การนวดผสมแป้งให้เอาแป้งนวดกับชิวคักและน้ำตาลมะพร้าวก่อน นวดให้เข้ากัน ถ้าแห้งไปจึงค่อยๆเติมน้ำให้พอนวดได้เป็นก้อน ระวังอย่าใส่น้ำครบตามสูตรไปทีเดียว เพราะบางทีแป้งเก่าแป้งใหม่ดูดซับน้ำได้ไม่เท่ากัน ให้ดูว่าปั้นเป็นลูกกลมๆได้ ไม่อ่อนตัวจนเสียทรงมากเกินไป เป็นอันใช้ได้ ให้นวดไปเรื่อยๆ สัก 5 นาที จากนั้นจึงใส่น้ำมัน นวดต่อไปอีกสักพัก แล้วพักแป้งไว้ 3 ชั่วโมง เป็นพร้อมใช้งาน
ไส้เค็ม ใช้ถั่วทอง แช่น้ำข้ามคืน นึ่งให้สุกนุ่ม นำมาโขลก 400 กรัม หมูสามชั้นต้มเลาะเอาหนังออกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สัก 150กรัมอาจเพิ่มลดเอาตามชอบได้ หอมแดงสับ ½ ถ้วย น้ำมัน ½ ถ้วย ทั้งหมดนี้ผัดด้วยกัน โดยผัดน้ำมันกับหอมแดงให้สุกหอมก่อน จากนั้นใส่หมูสามชั้น ผัดให้เข้ากันจึงใส่ถั่วทองโขลก ปรุงรสด้วย เกลือป่น 1 ชต. น้ำตาลทราย ½ ถ้วย และพริกไทยป่น 2-3 ชช. ชิมให้ออกรสเค็มหวาน เรื่องไส้นี้ชายไม่ค่อยจะอาศัยสูตรเท่าไหร่ แต่จะปรุงให้ออกรสเค็มหวาน และเผ็ดร้อนพริกไทย เพราะบ้านชายชอบกันแบบนั้น ผัดเสร็จแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆประมาณสักข้อนิ้วชี้ หรือขนาด 1 นิ้วนั่นแหละ ไส้นี้ชายเคยเก็บไว้ราว 1 อาทิตย์ใส่กล่องปิดฝาในตู้เย็นก็ได้อยู่ ไม่เสียรส ยังหอมเหมือนเดิม ส่วนไส้หวานก็ไส้กระฉีกนั่นแหละ มีแค่น้ำตาลมะพร้าวผัดกับมะพร้าวทึนทึก ตัดรสด้วยเกลือ ข้ออร่อยอยู่ที่การเลือกมะพร้าวให้ได้ทึนทึกจริงๆ ไม่ใช่มะพร้าวแก่หรือจวนจะแก่ เพราะกินแล้วจะไม่นุ่มอร่อย
ตอนห่อให้แผ่แป้งพอคุมไส้ได้ ย้ำว่าอย่าคลึง ให้แผ่แป้งแล้วคลุมไส้ ถ้าแป้งหนาไปก็ค่อยๆเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้ง หยิบเนื้อแป้ง ขยับนิ้วถูกันไปมาจนแป้งหลุด จากนั้นก็ใส่ไว้ในน้ำมัน เตรียมตักมาห่อ ย้ำอีกครั้งว่าอย่าคลึง เพราะไส้ขนมไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น บางทีชายเคยเผลอไส้แตกไปก็มี พอแตกแล้วจะห่อยากขึ้น อีกเทคนิคคือใช้มือจุ่มน้ำมันเป็นระยะๆก็จะปั้นแป้งห่อไส้ได้คล่องมือขึ้น วิธีการห่อชายตามรูปที่ชายแนบบมา นึ่งขนมด้วยไฟแรงน้ำเดือดราว 30 นาทีก็ใช้ได้


ใหนๆ แล้ว แถมด้วยขนมเข่งเล็กน้อย เพราะของมันคู่กัน มีคนสงสัย ???
ขนมเข่ง เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งครับ ส่งตรงวัฒนธรรมมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เรียกกันว่า เหนียนเกา(จีนกลาง) ตึก้วย(แต้จิ๋ว) ตีโก้ย (ฮกเกี้ยน) 3ชื่อนี้แปลว่า ขนมประจำปี หรือขนมปี ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำตาล แล้วเอาไปนึ่ง เดิมทีแถบมลายู ไทย ยังไม่มีขนมชนิดนี้ แต่ได้เริ่มแพร่เข้ามาพร้อม

เรื่องขนมเทียนนี้ เป็นมหากา
ขนมเข่งนอกจากจะกินได้ทันที